บทนี้กล่าวถึง สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ข้อจำกัด และมายาคติเกี่ยวกับ “แผนปฏิบัติการ” สะท้อนผ่านมุมมองของ คุณเกศินี แกว่นเจริญ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองไม่เอื้อต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านและคนเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนและรุนแรงมากขึ้น การทำงานร่วมกันของชุมชนนำไปสู่ความเข้าใจจาก “ปฏิบัติการ” กับความ “SUCCESS” ด้านองค์ความรู้ ปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วม และการเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชนจะนำไปสู่การทลายข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
การพัฒนาเมืองไม่เอื้อต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านและคนเปราะบาง
คุณเกศิณี แกว่นแก้ว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความสำคัญของการพัฒนาเมืองต้องคำนึงถึงความต้องการของทุกกลุ่มคนในสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคม พบว่า คนกลุ่มเปราะบางมองว่าปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการพัฒนาเมืองนั้นไม่ได้มาตรฐาน และไม่ได้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา อีกทั้ง การไม่ได้มาตรฐานของการพัฒนาเมืองสะท้อนถึงความ “ไม่ครอบคลุม” หรือ “ไม่ได้คำนึงถึง” ความต้องการของทุกกลุ่มคนในสังคม ทำให้คนกลุ่มเปราะบางรู้สึกว่าตนเองถูกละเลยหรือไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ ซึ่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตที่โครงสร้างพื้นฐานหรือบริการสาธารณะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังสะท้อนถึง “การช่วงชิงทางความคิด” กับการต่อสู้ทางความคิดระหว่างกลุ่มคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจกับคนกลุ่มเปราะบางที่พยายามที่จะมีเสียงและสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง เพราะการพัฒนาเมืองไม่ตอบสนองต่อคนทุกกลุ่มคนในสังคม แสดงถึงการมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและการพัฒนา ซึ่ง คุณเกศิณี แกว่นแก้ว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า คนกลุ่มเปราะบางมองว่า ปัจจัยภายนอกจากการพัฒนาเมืองไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของเขา ซึ่งสะท้อนการช่วงชิงทางความคิด
ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนและรุนแรงมากขึ้น
ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นประเด็นระดับโลก อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้นำมาซึ่งผลกระทบต่อมนุษย์และทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ความรุนแรงของผลกระทบนี้ย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการตระหนักถึงและจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ซึ่ง ดร.วิจารย์ สิมาฉายา สะท้อนว่า เรื่องความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญ เป็นประเด็นของโลก ขณะนี้อุณหภูมิสูงขึ้นหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากขึ้นและกระทบต่อชีวิตของคน
การทำงานร่วมกันของชุมชนนำไปสู่ความเข้าใจจาก “ปฏิบัติการ”
ความเข้าใจและการเตรียมพร้อมในการจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนและลดผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เปราะบางในชุมชน ทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากน้ำท่วมและน้ำแล้ง ช่วยให้ชุมชนสามารถระบุและเข้าใจปัจจัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาในพื้นที่ของตน การวิเคราะห์สามารถทำให้ชุมชนเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดได้ดีขึ้น รวมทั้ง การใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการทำงานช่วยให้ชาวบ้านสามารถเห็นภาพรวมของพื้นที่ของตนชัดเจน ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลพื้นฐาน และแผนที่ช่วยให้ชาวบ้านเข้าใจลักษณะของพื้นที่เสี่ยงได้ดีขึ้น ซึ่ง คุณเกศิณี แกว่นแก้ว กล่าวว่า การทำงานร่วมกับชุมชนใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำท่วม และน้ำแล้ง มีการใช้แผนที่เป็นเครื่องมือในการทำงานกับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านได้ทบทวนตัวเองและเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลอย่างไรต่อชุมชนบ้าง
นอกจากนั้น การให้ชาวบ้านได้ทบทวนสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถกระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหา และสามารถพัฒนาแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมได้ ทำให้ชุมชนสามารถพิจารณาวิธีการป้องกันและลดผลกระทบได้เอง และเป็นการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดทั้งการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในกระบวนการวิเคราะห์และการวางแผนสามารถเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของชุมชนกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ความ “SUCCESS” ด้านองค์ความรู้ ปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วม
โครงการ “SUCCESS” มีความสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมีผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาชุมชน รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน ซึ่ง ดร.วิจารย์ สิมาฉายา สะท้อนว่า เรียกการทำงานในโครงการนี้ว่า “SUCCESS” เป็นโครงการร่วมมือร่วมแรงในการปรับตัวด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ให้ดำเนินการ 5 ปีในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ขอนแก่น หนองคาย และอุดรธานี และภาคใต้ คือ สงขลา พัทลุง และสตูล โดยการทำงานในชุมชนพื้นที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัว
นอกจากนั้น การเรียนรู้ในโครงการยังช่วยให้ชุมชนได้เรียนรู้ถึงผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมีวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม เสริมความเข้าใจและความพร้อมในการรับมือกับปัญหาที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง การปรับตัวของชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนในการพัฒนา “กลยุทธ์” และวิธีการปรับตัวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตนเอง และการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและยั่งยืนขึ้น อย่างไรก็ดี
การเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชนจะนำไปสู่การทลายข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐ
คุณเกศิณี แกว่นแก้ว กล่าวว่า ชุมชนมีศักยภาพ มีเครื่องมือในการปรับตัวของชุมชน เพียงแต่ปัจจัยภายนอกที่ไม่เอื้อ เช่น ทำแผนที่แผนผังได้และรู้ว่ากลุ่มเสี่ยงอยู่จุดไหน ชุมชนทำแผนอพยพได้ แต่เมื่อคุยกับหน่วยงานท้องถิ่นพบว่ามีข้อจำกัด เช่น ไม่ได้อยู่ในแผนงาน ปฏิบัติการไม่ได้ ไม่สามารถจัดการได้เนื่องจากไม่มีงบประมาณ รวมถึงข้อจำกัดของหน่วยงานอื่น ๆ แม้จะมีแผนการรับมือแต่เป็น “แผนแบบแผน” ที่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติการ หรือ Action จริงในพื้นที่ เป็นวิธีคิดที่ว่า มีแผนไว้แต่ไม่ถูกปฏิบัติ แต่การทำงานของชาวบ้านถูกมองว่าไม่ได้มาตรฐาน เป็นปรากฏการณ์สะท้อนการช่วงชิงทางความคิดของชาวบ้านกับหน่วยงานภาครัฐที่คิดไม่เหมือนกัน ดังนั้น นักพัฒนาเอกชนจึงพยายามทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้และมีกระบวนการในการตัดสินใจเอง
สะท้อนให้เห็นว่า ชุมชนมีศักยภาพและเครื่องมือในการจัดการและปรับตัว แต่เผชิญข้อจำกัดจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อจำกัดจากหน่วยงานท้องถิ่น การขาดงบประมาณ ทำให้แผนการที่มีอยู่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การมีแผนแต่ไม่สามารถปฏิบัติ กลายเป็นปัญหาและความขัดแย้งทางความคิด ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง นักพัฒนาเอกชนได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ชุมชนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการปัญหา
หมายเหตุ:
- ประมวลข้อมูลจากเวทีการประชุมใหญ่ปี 2567 “เมือง(ไม่)รู้ร้อนรู้หนาว กับ ชุนชนเมือง ในยุคโลกเดือด” แนวทางนำสู่ การเตรียมความพร้อม รับมือ ปรับตัว อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (People-centred urban climate resilience and adaptation)“ ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป วันที่ 25-27 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมเดอะคอนวีเนี่ยน จังหวัดขอนแก่น
- บทความเผยแพร่โครงการ SUCCESS จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งทีมงานโครงการ SUCCESS มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด โดยเนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป