บทนี้กล่าวถึง “ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง” การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์สู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความเปราะบาง สะท้อนผ่านมุมมองของ ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ชี้ว่า ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง การปฏิบัติการนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความเปราะบาง การใช้ข้อมูลเชิงลึกและเชิงประจักษ์ของชุมชน และการทำงานผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย ดังนี้
1. “ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง”
ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความจำเป็นที่ภาคประชาสังคมจะต้องมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการพัฒนาเมือง โดยโครงการได้รับการเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง” เน้นให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันของชุมชนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง และบทบาทของภาคประชาสังคม เนื่องจากสามารถสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการในระดับท้องถิ่น และช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบอย่างยั่งยืน ซึ่ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง สะท้อนว่า ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องเร่งด่วน สำคัญ ภาคประชาสังคมเองจะต้องมีบทบาทขับเคลื่อนการแก้ปัญหา หรือลดปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง เรียกโครงการนี้สั้น ๆ ว่า “ประชาคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง”
2. การปฏิบัติการนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความเปราะบาง
การพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีผลต่อความเปราะบางของชุมชน และทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องเผชิญและความท้าทายมากขึ้น การพัฒนาเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างความไม่เท่าเทียม การเจริญเติบโตของเมืองทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา หรือคนที่ไม่ได้รับประโยชน์หรือถูกละเลย ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านเศรษฐกิจและสังคม นำไปสู่ความเปราะบางของคนในชุมชน คนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอาจมีความสามารถในการรับมือกับปัญหาน้อยลง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับปัญหา ขณะที่ ชาวบ้านเริ่มตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูและสภาพอากาศที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และเห็นถึงความเปราะบางที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สะท้อนว่า การพัฒนาเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างความเหลื่อมล้ำ สร้างความไม่เท่าเทียม ซึ่งนำไปสู่ความเปราะบางของคนในชุมชน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นคำที่เข้าใจค่อนข้างยาก แต่ก็พยายามทำให้เห็นว่า อากาศไม่เหมือนเดิม คาดการณ์ยากขึ้น ไม่แน่นอน ทำให้ชาวบ้านเห็นว่า ฤดูการเปลี่ยนแปลงไป ร้อนมากขึ้น ฝนหนักขึ้น พายุรุนแรงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวบ้านเห็นเกี่ยวกับ “ความเปราะบาง”
3. การใช้ข้อมูลเชิงลึกและเชิงประจักษ์ของชุมชน
การใช้ข้อมูลเชิงลึกและเชิงประจักษ์ของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความเปราะบาง โดยชุมชนและภาคประชาสังคมได้ร่วมมือกันทำงานเองในการหาทางออกถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งเป็นการสร้างวิธีคิดและกลไกที่สนับสนุนการแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงปฏิบัติการของชุมชนด้านความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา ซึ่ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สะท้อนว่า วิธีการปรับตัวแก้ไขปัญหาความเปราะบางต้องใช้ข้อมูลเชิงลึก เชิงประจักษ์ของชุมชน ให้ชุมชนและภาคประชาสังคมได้ร่วมมือกันทำเอง เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา พบทั้งการปฏิบัติ วิธีคิด กลไก เครือข่าย นอกจากนั้น การปรับตัวแก้ไขปัญหาความเปราะบางจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่เป็นส่วนรวม ซึ่งให้ความสำคัญกับความรู้และประสบการณ์ของคนในชุมชน เนื่องจากเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาและมีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง การสร้างกลไกและเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงชุมชน และช่วยให้การแก้ไขปัญหามีความครอบคลุมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
4. การทำงานผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย
การนำความรู้ แนวคิด และวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ มาใช้ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมือง เป็นการสร้างสรรค์ทางออกที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของสังคม กล่าวคือ การทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแสดงความคิดเห็นและมีบทบาทในการพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นตนเอง โดยภาควิชาการนำ “ความรู้” และงานวิจัยใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งภาคประชาสังคมมีส่วนช่วยในการสนับสนุนและดำเนินกิจกรรมที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาคเอกชนเข้าร่วมผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ประยุกต์ใช้ ซึ่ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สะท้อนว่า ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความเกี่ยวข้องหลากหลายประเด็น การทำงานจึงพยายามนำไปสู่การผลักดันการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งความรู้ แนวคิด และวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ มาใช้ในบริบทของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
หมายเหตุ:
• ประมวลข้อมูลจากเวทีการประชุมใหญ่ปี 2567 “เมือง(ไม่)รู้ร้อนรู้หนาว กับ ชุนชนเมือง ในยุคโลกเดือด” แนวทางนำสู่ การเตรียมความพร้อม รับมือ ปรับตัว อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (People-centred urban climate resilience and adaptation)“ ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป วันที่ 25-27 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมเดอะคอนวีเนี่ยน จังหวัดขอนแก่น
• บทความเผยแพร่โครงการ SUCCESS จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งทีมงานโครงการ SUCCESS มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด โดยเนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป