ความสำคัญและการผลักดันหลักสูตร Gender Responsive Budgeting (GRB) มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่สะท้อนถึงการกระจายอำนาจผ่านบทบาทเล็กๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มกิจกรรมมีความพร้อมและต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ GRB รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐมีความมุ่งหวังอยากให้ GRB เกิดขึ้นผ่านเครือข่ายต่างๆ เพราะ GRB สะท้อนถึงการทำงานให้ครอบคลุมทุกเพศและกลุ่มเปราะบาง โดยข้อมูลที่น่าสนใจจากเวทีเสวนา“บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผ่านการประยุกต์ใช้ GRB” และการระดมความคิดเห็นเพื่อการออกแบบหลักสูตร Gender Responsive Budgeting (GRB) ในเวทีเปิดตัวโครงการ (Kick off) และการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรฯ โครงการ Strengthening Gender Responsive Budgeting in Local Governance, a pilot project whit Ubon Ratchathani Municipality เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา อุบล (Centara Ubon) จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
ความสำคัญและการผลักดันหลักสูตร Gender Responsive Budgeting (GRB)
การใช้ข้อมูลในการออกแบบงานจะช่วยให้ผู้บริหารตระหนักถึงมุมมองใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจว่าควรลงทุนกับกลุ่มใด ผู้ปฏิบัติงานต้องมีบทบาทในการเก็บและเสนอข้อมูลให้ผู้ตัดสินใจ ทั้งยังเป็นผู้ผลักดันการปรับปรุงขั้นตอนงบประมาณให้สอดคล้องกับหลักการ GRB โดย ผศ.ดร.ภาวินี ช่วยประคอง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สะท้อนว่า หลักสูตร Gender Responsive Budgeting (GRB) เกี่ยวข้องกับ ความ(รอบ)รู้ หรือ “Knowledge” เป็นที่สิ่งที่รู้อยู่แล้ว กับ สิ่งที่ต้องรู้ หรือสิ่งที่ควรรู้ “การนำความรู้หรือทักษะความสามารถที่มีอยู่แล้วมาใช้ อาจเกิดจากการมีข้อมูลแต่ไม่ได้ใช้ ข้อมูลที่เก็บบ่อยๆ อัพเดตบ่อยๆ จะมีความแม่นยำมากกว่า” การใช้ข้อมูลที่นำไปสู่ GRB อาจต้องศึกษาแนวคิดด้านต่างๆ เช่น เพศภาวะ, สตรีนิยม, การเลือกปฏิบัติจากอคติด้านเพศภาวะ, ชายเป็นใหญ่, เครื่องมือนโยบาย กระบวนการงบประมาณรัฐบาลกลาง, หรือฉากทัศน์ตามโครงสร้างประชากร เป็นต้น “ถ้าเราอยากได้ผลดำเนินงานที่ดีกว่าเดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการใหม่ๆ การคิดใหม่ๆ และหนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงข้อมูล แต่ก่อนเราใช้งบประมาณแบบ “ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ” (Line Items Budgeting System) ที่ต้องเปลี่ยนจากการเช็คว่า ซื้ออะไรไปบ้าง…? เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มองว่าทำอะไร…? และเกิดอะไรขึ้นบ้าง…? บางครั้งเราอาจไม่ได้นำเสนอ ประมวล หรือคำนวรมิติทางเพศ” แม้ผู้ปฏิบัติงานด้าน GRB ไม่ใช่ผู้บริหาร แต่ถ้าผู้บริหารได้เห็นข้อมูลหรือข้อมูลใหม่ๆ จากการปฏิบัติงานก็อาจทำให้เกิดการตระหนักสิ่งใหม่ๆ การใช้ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญและการทำงานข้อมูลได้เปรียบ จะได้เห็นว่าควรลงทุนกับใคร การใช้ข้อมูลมีผลต่อการพิจารณาตัดสินใจ การปรับเปลี่ยนการทำงานแบบ GRB จะเกิดจากการมีข้อมูลใหม่ๆ เป็นหญิงชาย เป็นเพศอื่น ตามปัญหา/สภาพปัญหาซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ กล่าวคือ กฎระเบียบเกี่ยวกับงบประมาณอาจจะเปลี่ยนไป ขั้นตอน การพิจารณาเปลี่ยน และในส่วนของเราที่เป็นคนมีบทบาทจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะที่ต้องเปลี่ยนไป การเป็นคนเก็บข้อมูลจะเป็นคนผลักดัน การปรับปรุงขั้นตอนการพิจารณางบประมาณ “ตัวเราเป็นศูนย์กลางของความเปลี่ยนแปลงให้เกิดงบประมาณแบบ GRB แต่ละท่านมีบทบาทในการทำโครงการ พิจารณาโครงการ และหลายคนมาจากแผนงานด้านต่างๆ เราให้ความสำคัญระดับไหนเมื่อเปรียบเทียบกับระดับอื่น บางครั้งเราบอกว่าสำคัญมากแต่มันไม่ได้อยู่ในงบประมาณของเทศบัญญัติ ในเรื่องของงบประมาณเราเองสามารถมีบทบาทในการเก็บข้อมูล และให้ข้อมูลต่อผู้ที่ตัดสินใจอย่างไรได้บ้างตามภาระหน้าที่ บทบาทการตัดสินใจ”
Gender Responsive Budgeting (GRB) กับการกระจายอำนาจผ่านบทบาทเล็กๆ
บางครั้งการกระจายอำนาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสิ่งใหญ่ เพียงเริ่มที่บทบาทหน้าที่เล็กๆ ของแต่ละคนเพื่อให้ทุกกลุ่มได้รับการดูแล การเปิดใจ และเคารพซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความรู้ร่วมกัน นำไปสู่การออกแบบนโยบายและหลักสูตรที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม บางครั้งสามารถลงมือทำได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้งบประมาณ ซึ่ง ผศ.ดร.อรุณี สันฐิติวณิชย์ ผู้บริหารโครงการฯ กล่าวสะท้อนว่า บางครั้งการกระจายอำนาจไม่ต้องจุดเทียนใหญ่ๆ แค่จุดเทียนเล็กๆ ณ ตำแหน่งหน้าที่และบทบาทหน้าที่ที่เราทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ปัญหาของคนทุกกลุ่มได้รับการดูแล แม้จะวิเคราะห์ในภารกิจที่แตกต่างกัน แต่มีความรู้ร่วมกัน หรือความรู้แตกต่างกัน สิ่งที่คล้ายกัน คือ การเปิดใจยอมรับและการเคารพในสิ่งที่เขาเป็น ทั้งหมดจะนำไปสู่การออกแบบหลักสูตรและการออกแบบนโยบาย หรือการเขียนนโยบายของเทศบาล (ซึ่งบางคนทำอยู่แล้ว) สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีใจ คือ สิ่งที่ทำได้เลย ไม่ต้องรอการเปลี่ยนคำพูดและพฤติกรรมเพราะบางอย่างไม่ต้องใช้เงิน บางอย่างที่ทำอยู่แล้ว เพียงแต่ดึงกลับมา เหมือนเป็นการ KM เล็กๆ ซึ่งบางคนไม่เคยคุยกัน ทำเรื่องเดียวกัน และเพิ่งได้คุยกัน อนาคตอาจจะต้องมาคุยกันเพิ่มมากขึ้น
องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มกิจกรรมมีความพร้อมและต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ GRB
การจัดสรรงบประมาณบางครั้งอาจยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ NGOs หรือสภาเด็กและเยาวชนที่ยังเข้าไม่ถึงงบประมาณในการขับเคลื่อนงานนัก ดังนั้น “Budget For All” ควรคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศและกลุ่มต่างๆ ที่มีความต้องการแตกต่างกัน การทำงานที่ใส่ใจมิติเพศภาวะจะช่วยให้เห็นปัญหาของคนทุกกลุ่มได้ชัดเจนขึ้น ซึ่ง คุณปราโมทย์ ศรีสุธรรม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคอีสานใต้ จ.อุบลฯ สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ผ่านมาว่า “การทำงานพยายามพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านงบประมาณของหน่วยงานว่ามีมากน้อยเพียงใด จะสามารถแบ่งสันปันส่วนให้ทำงานอย่างไรได้ เพราะในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีหลายกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะวงการ NGOs ไม่เข้มแข็งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง” ขณะที่ ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชน กล่าวสะท้อนว่า สภาเด็กและเยาวชนดูแลเรื่องของเด็กและเยาวชนในพื้นที่และมีการเข้าร่วมโครงการของ สสส. อปท. เคยเขียนข้อมูลเบื้องต้นของเด็กและเยาวชนมีการทำงาน แต่ไม่ได้ของบประมาณจากหน่วยงานไหน สภาเด็กและเยาวชนต้องการทำงานและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง คุณพนิดา หันสวาสดิ์ นักวิชาการอิสระ/ผู้เชี่ยวชาญ GRB เน้นย้ำว่า คำว่า “Budget For All” เราไม่เลือกปฏิบัติ แต่การวิเคราะห์ลึกๆ ต้องมีการคำนึงถึงมิติเพศภาวะ คนทุกคนไม่ได้มีปัญหาเหมือนกัน ความรุนแรงต่างกัน เพศต่างกัน ความรุนแรงต่างกัน “การทำงานที่คำนึงถึงเพศภาวะต้องคำนึงถึงความแตกต่าง ในโลกปัจจุบันที่ไม่ได้มีแค่หญิงชาย แต่มีกลุ่มที่แตกต่าง หากมองเรื่องชายหญิงออกก็มองผู้สูงอายุ คนพิการ หรืออื่นๆ ได้ง่ายมาก”
หน่วยงานภาครัฐมีความมุ่งหวังอยากให้ GRB เกิดขึ้นผ่านเครือข่ายต่างๆ
การผลักดัน GRB ในโครงการนำร่องจะเป็นการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเตรียมพร้อมและการจัดสรรทรัพยากรตามความจำเป็น และการทำงานด้านเพศภาวะของเทศบาลเป็นสิ่งที่ทำอยู่บ้างแล้วแต่ต้องการการสื่อสารเพิ่มเพื่อสร้างการรับรู้ในสังคม ซึ่ง คุณกริชพล เมืองเหนือ รองปลัดเทศบาลนครอุบลราชธานี สะท้อนว่า การผลักดัน GRB เป็นการทำงานร่วมกันในโครงการนำร่องที่ให้เกียรติกันและเป็นการจับมือที่สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และได้ยกตัวอย่างการทำงานของเทศบาล กรณีภัยพิบัติน้ำท่วมว่า เป็นการทำงานเพื่อรับมือกับปัญหาทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี แต่ละปีมีการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้มีการลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านได้ทันท่วงที รวมถึงการบริหารจัดการต่างๆ ตามความต้องการอย่างเหมาะสม ซึ่ง คุณษมาภรณ์ นีละเสน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี สะท้อนถึง “สิ่งที่เราทำชี้ให้เห็นว่าเราทำอยู่แต่ต้องมีการสื่อสารอีกนิดว่าสิ่งที่ทำถูกต้องแล้ว การทำงานมิติทางเพศต้องชื่นชมเทศบาล เพราะประเด็นที่ทำค่อนข้างยาก ทั้งทัศนคติและมุมมองของผู้บริหาร งานที่ทำไปแล้วจะทำให้เกิดการรับรู้ต่างๆ มากขึ้น”
การทำงานให้ครอบคลุมทุกเพศและกลุ่มเปราะบาง
การก้าวไปข้างหน้าคือการใช้ต้นทุนเดิมในการออกแบบงานที่ครอบคลุมทุกเพศและกลุ่มเปราะบาง เช่น งานประเพณี การเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ และการกระจายความรู้เรื่องสิทธิให้ครอบคลุมถึงชุมชนชายแดน การทำงานในอนาคตควรเน้นการออกแบบโครงการบริการสาธารณะที่ตอบโจทย์ทุกเพศภาวะ พร้อมประเมินผลเพื่อปรับปรุงและขยายผลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ดร.กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น ทีมวิจัยฯ สะท้อนการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า จะก้าวไปข้างหน้าอนาคตจะทำอะไร…? และเห็นต้นทุนเดิมว่าทำอะไรได้บ้าง…? พบว่า งานของเทศบาลมีการผลักดันเวทีแสดงออก งานประเพณี ถนนเด็กเดิน การออกแบบการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ให้เด็กพิเศษ การกระจายงบประมาณ ให้ความรู้กลุ่มเปราะบาง การให้ความรู้เรื่องสิทธิ การสื่อสารและการขยายงานถึงท้องถิ่นจังหวัด การขยายผล การขยายพื้นที่ชายแดน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ต้องคำนึงถึง/กล่าวถึง/อ้างถึงความเป็นเพศ การระบุกลุ่มเป้าหมายครอบคลุม Gender การดำเนินโครงการต้องมองว่า “อนาคตจะทำโครงการครอบคลุมทุกเพศสภาวะ” สนับสนุนการทำงานโครงการให้บรรลุ และต้องกล่าวถึงการทำโครงการบริการสาธารณะที่ครอบคลุมทุกเพศ อีกทั้งการทำงานข้อมูลและเชิงความรู้จะนำไปสู่การทบทวนและออกแบบ หรือออกแบบการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ การพูดถึงหลักสูตรผู้ปกครอง การทำงานลักษณะนี้บางครั้งเป็นเรื่องของวิธีคิด การทำงานจึงต้องจัดกิจกรรมที่ขยายผลและการทำงานที่เข้มข้นมากขึ้น คำนึงถึงมิติเพศที่มีการเก็บอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาการทำงานออกแบบโครงการยังคงเหมารวม ปลายทางการทำงานคือการประเมินผลที่ต้องออกแบบร่วมกันต่อไป
หมายเหตุ : “โครงการนี้ดำเนินการโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)” โดยสถานทูตแคนาดา ข้อมูลและภาพจาก โครงการ Strengthening Gender Responsive Budgeting in Local Governa